‘แนนซี เพโลซี’ ลั่นหนุนสิทธิมนุษยชน ยกเหตุ นองเลือดจตุรัสเทียนอันเหมิน

‘แนนซี เพโลซี’ ลั่นหนุนสิทธิมนุษยชน ยกเหตุ นองเลือดจตุรัสเทียนอันเหมิน

กลายเป็นเรื่องฮือฮาหลัง แนนซี เพโลซี กล่าวสนับสนุนสิทธิมนุษยชน พร้อมยกเหตุ นองเลือดจตุรัสเทียนอันเหมิน เหตุที่จีนพยายามลบ เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม สำนักข่าว CNN รายงานว่า แนนซี เพโลซี ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐอเมริกา ที่ขณะนี้ แนนซี เพโลซี เยือนไต้หวันและอยู่ในระหว่างการเข้าพบกับวุฒิสมาชิกไต้หวัน ก่อนที่จะมีกำหนดเข้าพบ ไช่ อิงเหวิน ประธานาธิบดีไต้หวัน หลังจากนี้

นาง เพโลซี กล่าวว่าเธอรู้สึกว่าการที่ ไต้หวันพูดว่าสหรัฐฯเป็นมิตรที่ดีของไต้หวัน 

เป็นเหมือนคำชมที่ยอดเยี่ยม โดย ไช่ ชิ-ชาง ได้ขอบคุณนาง เพโลซี ที่เดินทางมาเยือนไต้หวัน และยังได้กล่าวชื่นชมว่าไต้หวันเป็นหนึ่งในสังคมอิสระ ที่ประสบความสำเร็จในการแก้ปัญหาโควิด ซึ่งเป็นปัญหาด้านสาธารณสุข ความมั่นคง เศรษฐกิจ และปัญหาการปกครอง

นอกจากนี้ ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐอเมริกา ยังกล่าวถึงเหตุ นองเลือดจัตุรัสเทียนอันเหมิน เหตุนองเลือดที่ทางการจีนไม่เคยกล่าวถึงและมีผู้เสียชีวิตหลายพันศพ ว่า เธออยากให้นึกย้อนถึงจัตุรัสเทียนอันเหมิน นั่นเป็นเรื่อง 30 ปีที่แล้ว พวกเราเคยไปที่นั่นเพื่อสนับสนุนสิทธิมนุษยชน

สำหรับประโยคข้างต้นนี้ นาง เพโลซี กำลังหมายถึงหมายถึงการที่เธอเคยกางแผ่นป้ายเล็กๆในกรุงปักกิ่ง และมีข้อความระบุว่า “อุทิศให้แก่ผู้ที่เสียชีวิตเพื่อประชาธิปไตยในจีน” โดยเหตุการณ์ในครั้งนั้นเกิดขึ้นในปี 2534 สองปีหลังเหตุ นองเลือดจัตุรัสเทียนอันเหมิน

ชาวเน็ตได้เขียนสรรเสริญการเยือนไต้หวันของเพโลซี และส่งกำลังใจให้ไต้หวัน รวมถึงติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด

สำหรับ พันธมิตรชานม หรือ Milk Tea Alliance เกิดขึ้นหลังจาก ไบร์ท วชิรวิชญ์ ชีวอารี ได้โพสต์ระบุว่า ไต้หวันเป็นประเทศ และสร้างความไม่พอใจกับชาวเน็ตจีนที่มุด VPN เข้ามาด่า ไบรท์ เป็นจำนวนมาก

จนกลายเป็นการปะทะคารมระหว่างชาวไทย แฟนคลับของไบรท์ และ ชาวเน็ตจีน ก่อนจะพัฒนาเป็นการเดินหน้าเรียกร้อง ประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนในไต้หวัน ไทย และ เมียนมา รวมถึงประเทศอื่นๆในเอเชียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เปิดประวัติ ‘แนนซี เพโลซี’ ประธานสภาหญิงคนแรกของสหรัฐ

ประวัติ แนนซี เพโลซี ประธานสภาคองเกรส เธอมีความเป็นมา และความสำคัญอย่างไรกับการเมืองโลกบ้าง ที่นี่มีคำตอบ หลังจากที่ แนนซี เพโลซี ประธานสภาสหรัฐ ได้เดินทางไปเยือนไต้หวันในวันที่ผ่านมา ทำให้เกิดเหตุข้อพิพาทต่าง ๆ จากประเทศจีน หลายคนอาจจะสงสัยเกี่ยวกับประวัติ ความเป็นมาของประธานสภาสหรัฐหญิงท่านนี้ วันนี้ The Thaiger จึงได้รวบรวมข้อมูล ประวัติ แนนซี เพโลซี (Nancy Pelosi) มาให้ทุกท่านได้อ่านกันแล้วครับ ว่าเธอคนนี้คือใคร มีความสำคัญอย่างไรกับบทบาทการเมืองสหรัฐ และจีน ไต้หวันเวลานี้

เปิดประวัติ แนนซี เพโลซี ประธานสภาสหรัฐ

แนนซี เพโลซี (Nancy Pelosi) หรือ แนนซี แพทริซีย ดีอาเลซานโดร เพโลซี (Nancy Patricia D’Alesandro Pelosi) เกิดที่เมืองบัลติมอร์ รัฐแมริแลนด์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ในวันที่ 26 มีนาคม ปี ค.ศ. 1940

ปัจจุบัน แนนซี เพโลซี ดำรงตำแหน่งเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎรแห่งสหรัฐอเมริกา ถือเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ คนที่ 52 ของประเทศสหรัฐอเมริกา แต่งตั้งเมื่อวันที่ 4 มกราคม ปี ค.ศ.2019 ในสภาคองเกรส หรือ สภาสหรัฐ สมัยที่ 116 แนนซี สามารถเอาชนะ เควิน แม็คคาธี่ จากพรรครีพับลิกันด้วยคะแนนเสียง 220-193 คะแนน

i

Nancy Pelosi เป็นสภาผู้แทนราษฎรจากเขตเลือกตั้งที่ 8 ของรัฐแคลิฟอร์เนีย จากพรรคเดโมแครต ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1987

แนนซี เพโลซี ได้รับตำแหน่งเป็นผู้นำพรรคฝ่ายค้าน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2002 – 2007 ระหว่างสภาคองเกรส สมัยที่ 107 – 109 จนกระทั่งเมื่อวันที่ 4 มกราคม ปี ค.ศ. 2007 แนนซีได้ถูกรับเลือกให้เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร ในสภาคองเกรส สมัยที่ 110 ก่อนที่ Nancy Pelosi จะถูกรับเลือกอีกครั้งในสภาคองเกรสสมัยที่ 116

แนนซี เพโลซี เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎรคนแรกที่เป็นสตรีคนแรกของสหรัฐ รวมทั้งแนนซีเป็นชาวแคลิฟอร์เนียคนแรก และชาวอิตาเลียน-อเมริกันคนแรกที่ได้รับตำแหน่งอีกด้วย

นอกจากนี้ยังถือว่าเป็น สส. คนที่สองที่มาจากรัฐทางตะวันตกของเทือกเขาร็อกกี้ที่ได้รับตำแหน่ง ต่อจากทอม โฟลีย์ ที่มาจากรัฐวอชิงตัน

ประธานสภาผู้แทนราษฎรหญิง Nancy Pelosi มีสิทธิ์ในการจัดการเรื่องต่าง ๆ รองลงมาจากรองประธานาธิบดี หากต้องขึ้นเป็นประธานาธิบดีที่จำเป็น (ตัวแทน)

ดังนั้นแนนซีจึงถือว่าเป็นผู้หญิงที่มีลำดับตำแหน่งทางการเมืองที่สูงสุดในประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองของสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้ยังแนนซียังถือเป็นสุภาพสตรีคนแรกที่สามารถกลับขึ้นมาดำรงตำแหน่งประธาน สส.ได้อีกครั้งในประวัติศาสตร์ด้วย

Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป